บรรจุภัณฑ์ชนิดไหนเข้าไมโครเวฟได้บ้าง

ปัจจุบันมีบรรจุภัณฑ์หลายชนิดและหลายรูปทรง บางครั้งเราซื้ออาหารมาเราอยาจะนำถ้วยดังกล่าวใส่ไมโครเวฟเลยเพื่อความสะดวก แต่ก็ยังกลัวและไม่มั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดไหนเข้าไมโครเวฟได้ แบบไหนเข้าไม่ได้ เรามีคำตอบให้คะ

บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ 

บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้มีด้วยกันหลายชนิด ต้องรู้ข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อสุขภาพของตัวเราและลดอุบัติเหตุจากการใช้ไมโครเวฟ 

1.กล่องกระดาษใส่อาหาร

กล่องกระดาษมาจากเยื่อธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะผลิตมาจาก เยื่อยูคาลิปตัส ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แต่ปัจจุบัน ก็มีการพัฒนา ทำให้บางผลิตภัณฑ์ หรือบางยี่ห้อ ออกแบบ และพัฒนาให้สามารถเข้าไมโครเวฟ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การอุ่นอาหาร ไม่ควรอุ่นนานเกินไปป เพราะผลิตภัณฑ์ไม่สามารถทนความร้อนได้นาน ที่แนะนำคือไม่ควรอุ่นเกิน 5 นาที ที่ไมโครเวฟแบบ 800 watt 

2.กล่องใส่อาหารจากชานอ้อย

กล่องจากชานอ้อย เป็นที่นิยมในการนำมาใส่อาหาร แต่ต้องดูสัญลักษณ์ของกล่องนั้นๆ ว่าเขียนไว้ว่า สามารถเข้าไมโครเวฟได้หรือไม่ และไม่ควรอุ่นด้วยเวลานานๆ เนื่องจากไม่สามารถทนความร้อนได้นาน 

3.กล่องพลาสติก PET

กล่องจะมีสัญลักษณ์ PET หรือที่เราเจอกันบ่อยๆจะเป็นกล่องใส่อาหารที่เป็นสีดำ ปลอดภัยสำหรับการเข้าไมโครเวฟ แข็งแรงทนทาน ทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง 230 องศาเซลเซียล และทนต่อการแช่ช่องแข็งด้วย 

4.ถุง หรือซอง

ปัจจุบันจะมีถุง หรือซองพลาสติกประเภทที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุประเภทกระดาษ กระดาษเคลือบพลาสติก ซึ่งสามารถแช่ช่องแข็งได้ 

5.ถ้วย หรือถาดอาหาร PE

ผลิตจากพลาสติก PE ซึ่ง พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง สามารถใช้กับอาหารที่มีไขมัน และน้ำมันสูงได้ อาหารแช่แข็ง อาหารที่อุ่นแล้วเกิดไอน้ำ 

6.เซรามิก

เซรามิก เป็นบรรจุภัณฑ์อีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถอุ่นไมโครเวฟได้  และยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามวัสดุ การนำมาใช้มีข้อควรระวังคือเรื่องของสีที่ใช้ตกแต่งเครื่องเซรามิก ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาดเพราะ บางสีอาจสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ  มีผลทำให้ไมโครเวฟเสียหายได้ง่าย 

7.แก้ว

แก้วเป็นภาชนะที่ ทนทานต่อความร้อนสูงมาก เนื่องจาก องค์ประกอบของแก้วคือสารอนินทรีย์ เช่น ทราย และ ผิวของแก้วไม่มีการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ 

สำหรับการนำบรรจุภัณฑ์ที่เขียนว่า microwave-safe หรือ microwavable นั้น เป็นพลาสติกที่ไม่ละลาย หรือแตกเมื่ออุ่นในเตาไมโครเวฟ แต่ไม่ได้หมายความว่า ปลอดภัยต่อร่างกาย 100% เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่า เมื่อใช้อุณหภูมิขนาดนี้ สารจะออกมาปะปนมากน้อยเพียงใด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง